Updates

Interview พระมหาพรชัย สิริวโร ปริญญาเอก สาขาปรัชญา

พระอาจารย์มหาพรชัย สิริวโร แห่งวัดเสถียรรัตนาราม อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

thai-student-001พระอาจารย์สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปริญญาโท สาขาจริยศาสตร์ศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดล อนุปริญญาเอก (M.phil) สาขา ปรัชญา  (Philosophy) ที่เดลี ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาปรัชญา เช่นเดียวกัน ในมหาวิทยาลัยปูเณ่ (University of Pune) รวมระยะเวลาที่พระอาจารย์ศึกษาอยู่อินเดียเป็นเวลา 8 ปี (เดลี 4 ปี และปูเณ่ 4 ปี) อาจารย์เคยดำรงตำแหน่งประธานนักศึกษาไทย ปี 2008-2009 ซึ่งตอนนั้นมีการเลือกตั้งทุกปี ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งมีจำนวนนักเรียนไทยในปูเณ่ ปัจจุบันประมาณ 150 คน จากการสำรวจอย่างคร่าวๆ ในปีเดียวกัน

พระอาจารย์ศึกษาทั้งปรัชญาอินเดียและตะวันตก ขณะที่เรียนอยู่ ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง แนวโน้มชีวิตในอุดมคติของคนปัจจุบัน ในมหาวิทยาลัยปูเณ่ ซึ่งมีนักศึกษาไทยเรียนร่วมในภาควิชาเดียวกัน กัน 4 คน  (ปริญญาเอก) และปริญญาโท 1 คน

ถามถึงสาเหตุที่ทำไมอยากมาเรียนอินเดีย พระอาจารย์บอกว่าเริ่มจากฟังเพลงอินเดียแล้วชอบ อีกทั้งอาจารย์ในมหาจุฬาฯส่วนใหญ่จบมาจากอินเดีย ทำให้เกิดความอยากมาเรียนอินเดียกับเขาบ้าง และความรู้สึกครั้งแรกที่มาอยู่เดลลีรู้สึกว่าอินเดียยิ่งใหญ่มากๆ

พระอาจารย์มาที่นี่โดยผ่านมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แม้จะจบเอกภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรีมา ก็มีปัญญาเรื่องการพูด การสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนไม่ค่อยเข้าใจมากนัก แต่จะได้ประโยชน์มากๆจากการพูดคุยกับเพื่อนแขกและเพื่อนต่างชาติอื่นๆ โดยเฉพาะคนที่พูดเก่งๆ

ในด้านการศึกษาที่นี่ บอกไว้ก่อนเลยว่าการมาเรียนอินเดียไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างหลายคนโฆษณาไว้ ประเทศอินเดีย เน้นการศึกษาด้วยตนเอง นักเรียนไทยไม่ค่อยคุ้นเคย ต้องการการบรรยายของอาจารย์มากกว่า ่บ้างก็ไม่ค่อยชอบเข้าเรียน ชอบเที่ยวเล่นไม่สนใจเรียน อีกทั้งบางคนก็ไม่ค่อยกล้าเผชิญโลกใหม่ ๆ ทำให้ไม่ค่อยสู้ ถอยได้ง่ายๆ ถ้าเจอปัญหาก็เปลี่ยน ไม่เอา หันหลังกลับก็มี

ระบบการเรียนแบบในอินเดีย ต้องศึกษาด้วยตนเองให้มาก ต้องอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้เยอะ เด็กไทยควรทำการบ้านอย่างหนัก เทียบกับการเรียนของไทยที่เรียนเป็นเรื่องๆ มีรูปแบบออกข้อสอบที่คาดเดาได้ แต่ในอินเดียเราคาดเดาได้ยาก เราต้องรู้ให้ครอบคลุมทั้งเนื้อหาในหลักสูตรให้มากที่สุด แม้บางวิชาผู้สอนจะสอนไม่ครบแต่ออกข้อสอบครบถ้วน ดังนั้นพวกเราต้องทำการบ้านอย่างหนัก ฝึกเขียนอ่านให้เยอะ และต้องรู้จักการเก็งข้อสอบด้วย

thai-student-0061

นักเรียนไทยในอินเดียที่มีความสามารถ จบแล้วไม่ต้องกลัวเรื่องการหางานทำ เดี๋ยวนี้มีบริษัทในเมืองไทยหลายแห่ง เช่น ซีพี อิตาเลียน-ไทย ที่มาลงทุนที่อินเดียมีแนวโน้มที่จะจ้างนักศึกษาไทยที่จบในอินเดียมาทำงานมากกว่า เพราะมีการปรับตัวและเรียนรู้ชีวิตในอินเดียได้ดี อีกทั้งอินเดียก็เป็นแหล่งเป้าหมายของนักลงทุนไทยหลายราย โอกาสการหางานในอนาคตก็ไม่ยากจนเกินไป

thai-student-002


ปัญหานักเรียนไทยที่นี่ส่วนใหญ่พบว่า

  1. ไม่ปรับตัว ยังใช้ชีวิตแบบเดิมๆ แบบที่อยู่ในเมืองไทย
  2. รูปแบบการศึกษาในอินเดียต่างกับเมืองไทยมาก นักศึกษาต้องเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด
  3. ไม่มีเป้าหมายชัดเจน และไม่มีความตั้งใจแท้จริงในการเรียน ทำให้เรียนไม่สำเร็จ เช่น นักศึกษาที่มาเรียนคอมพิวเตอร์กันเยอะ แต่ภาษาอังกฤษไม่ได้ ทำให้ท้อแท้ใจ และถอยกลับไปโดยเรียนไม่จบ
  4. คนไทยไม่ค่อยแสวงหาความรู้ที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น อ่านหนังสือ พัฒนาความรู้เกี่ยวกับการเรียน ก็ใช้เวลาสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
  5. ถูกหลอกมาเรียนที่อินเดียโดยนายหน้า ที่รับเงินมาแต่ไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างที่รับปากไว้ ทำให้เด็กหลายคนถูกลอยแพ และเผชิญปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง

ปัญหาหลากหลายต่างๆ ที่นักศึกษาไทยได้เผชิญ พระอาจารย์ได้ให้ข้อแนะนำไว้ ดังนี้

  1. การเรียนรู้ อินเดียมีหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้ไม่จบสิ้น เช่น เรื่องการใช้ชีวิต ปรัชญาชีวิต อินเดียเป็นเมืองเสรีอยากเรียนรู้หรือทำอะไรก็ทำได้หมด
  2. ความอดทน อินเดียสอนให้คนรู้จักอดทน กับผู้คนและระบบวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ที่นี่ไม่จำเป็นต้องใข้เงินเยอะ ราคาของอยู่ที่ปาก ราคาแตกต่างกัน ต้องใช้การต่อเป็นหลัก ก็จะได้ของดีราคาถูก
  3. การปรับความคิด อินเดียสอนให้คนใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ทั้งเรื่องการแต่งกาย การกินอยู่ คนอินเดียไม่ค่อยรู้จักพุทธศาสตร์ แต่กลับใช้ชีวิตตามแนวทางพุทธศาสตร์ ถ้าเราสามารถปรับตัวอย่างคนอินเดียได้ พวกเราจะมีเงินเหลือเก็บเยอะ

พระอาจารย์ยังฝากคำแนะนำสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่งไว้ดังนี้

  1. ต้องพยายามใช้เวลาอยู๋กับเพื่อนชาวอินเดียให้มาก อาจชวนมาทานข้าวหรือกาแฟบ่อยๆ กว่าจะหมดแก้วก็พูดอังกฤษคล่องแล้ว หรือวิธีอื่นๆ เช่น ที่นี่มี British Library จะมีคนที่มีความรู้เข้ามาหาความรู้ ลองเข้าไปนั่งอ่านเป็นสมาชิก ก็อาจจะนำไปสู่การมีเพือน
  2. ถ้าเที่ยวเป็นจะได้ภาษา หาเพื่อนที่พูดภาษาอังกฤษไปเที่ยวด้วยกัน ก็จะทำให้เก่งอังกฤษได้
  3. ใช้สื่อที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้มากที่สุด เช่น อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ ควรอ่านทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 ย่อหน้า โดยเฉพาะ Asian Ages ภาษาอังกฤษที่ใช้ดีมาก และหนังสือพิมพ์ที่นี่ราคาถูก ควรหัดอ่านออกเสียงด้วย
  4. ดูหนังซาวน์แทรคภาษาอังกฤษให้บ่อย
  5. วันหนึ่งๆ ควรมีเวลาพูดภาษาอังกฤษกับใครก็ได้
  6. และคนไทยควรเปิดใจให้กว้างด้วย ไมรังเกียจหรือดูถูกคนอื่น รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย จะทำให้เรามีเพื่อนชาวอินเดียหรือต่างชาติเยอะ

และสิ่งที่พระอาจารย์อยากจะฝากไว้ท้ายที่สุด เรียกว่าเป็นปรัชญาการศึกษา ก็คือ อย่าเน้นที่การหมกมุ่นศึกษาหาความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมากไป ทำให้ขาดการเข้าสังคมกับคนอื่น จะทำให้มีปัญหาในการอยู่ร่วมและทำงานกับคนอื่น โดยเฉพาะการเข้าถึงสื่อทางอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆในปัจจุบัน ทำให้เด็กไทยขาดการปรับตัวทางสังคม

29 Comments on Interview พระมหาพรชัย สิริวโร ปริญญาเอก สาขาปรัชญา

  1. ยมทูตล่าวิญญาณ // กรกฎาคม 7, 2009 เวลา 9:18 AM //

    ไม่มีความจำเป็นต้องไปอินเดียหรอกเพราะคนที่จบมาแบบไม่มีธีสิสไม่มีสิทธิ์เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปิอ อย่างเช่นมอุลราชธานี ที่นี่ แม้ความเป็นมาไม่ยาวนานเหทือนอินเดีย เปิดมา 20 ปี แต่ประวัติโดยรวมถือว่าฉกาจฉกรรจ์ เพราะไม่ใช่ใครจะมาเรียนก้ได้ต้องสอบแข่งขัน ขนาดคนระดับครูบาอาจารย์สอบไม่ได้ยังมี ไม่ใช่มีแค่เงินจะเรียนได้ ถ้าหากพระองค์นี้เก่งจริงทำใมไม่ต่อโทเอกอังกฤษหละก็เพราะฝืมือไม่ถึง คนไปเรียนอินเดียส่วนหนึ่งคือจบไม่ตรงสาย เช่น ตรี นิเทศ โทรัศาด อย่างนี้นับว่าฆ่าตัวตาย มอุบลใม่ใช่กระจอกนะครับบอกใว้อ่อน ข้อสอบเข้าเหมือนดูง่าย แต่ผลสอบออกมาตกระนาวตายกันเป็นเบือ อาจายืก็ไม่ธรรมดาระดับมือพระกาฬทั้งนั้นส่วนมากจบนอกหมด ค่าเรียนอินเดียถูกแต่ไร้ซึ่งอนาคต สู้ไปเรียนที่ธรรมสาด มหิดล ประสานมิตรไม่ได้ ไม่ใช่มาโปรโมทมอุบลนะครับแต่ที่นี้ดีจริงไม่เจ๋งจริงสอบเข้าไม่ได้ การบริการก้ดี วิชาการก้แน่นจบจากนี่มีธีสิธรับรองอนาคตดีแน่ ไม่ใช่แค่เน้นถูกประหยัดแต่ไม่มีอนาคต

    ถูกใจ

  2. ยมทูตล่าวิญญาณ // กรกฎาคม 7, 2009 เวลา 9:24 AM //

    ไมใช่อินเดียไม่ดีหรอกแต่นะ อนาคต คิดดีๆ อาจารย์มหาวิทยาลัยปิดส่วนมากจบจากนอกหมด คือ อเมริกา ออสเตรเลีย แต่ถ้าหากจะไปเรียนที่อินเดียน่าจะเรียน คอมไซน์น่าจะดีที่สุด แม้ว่าค่าเทอมแพง แต่จบไปก็คุ้ม
    ไม่ได้ดูถูกพระอาจารย์นะขอรับแต่ถ้าจบตรงสายจะแน่นกว่า ท่านน่าจะเก่งจริงๆ ถ้าเป็นผมคงไม่เอาหรอกถ้าจะเรียนข้ามสาย ตรงสายไปเลย

    ถูกใจ

  3. ยมทูตล่าวิญญาณ // กรกฎาคม 7, 2009 เวลา 9:27 AM //

    ถ้าเรียนสายอังกฤาหากจบโทใครเขาจะเอาเข้าทำงานบริษัทหละครับท่าน โทอังกฤษก้ต้องไปเป็นครู จบอินเดียครูราชภัฏ ก้เท่านั้น ใครเขาจะเอาปโทละครับ

    ถูกใจ

  4. มะขามหวาน // สิงหาคม 13, 2009 เวลา 10:08 PM //

    คุณยมทูตล่าวิญญาณครับ เค้าสัมภาษณ์ถึงวิธีการเรียน การใช้ชีวิตในประเทศอินเดีย ว่าควรทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าอวดตัวเองว่า ท่านเก่ง แต่ท่านมีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตในฐานะเป็นนิสิตในต่างแดน เค้าแนะนำว่า ควรเรียนอย่างไร การมาเรียนอินเดียควรเตรียมตัวอย่างไร และเมื่อมาแล้วควรปรับตัวอย่างไร ที่สำคัญคือท่านเตือนไว้ว่า อย่าเชื่อคำโฆษณาของพวกนายหน้าว่าการเรียนอินเดียนั้นง่าย ให้เราศึกษาข้อมูลจากผู้ที่อยู่มาก่อนว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงตัดสินใน ถ้าคุณคิดได้แค่ว่าท่านมาอวดตัวเองว่าเก่ง ผมก็คิดได้เช่นเดียวกันว่า คุณยมทูตล่าวิญญาณจะเรียนที่ใดในโลก แต่ถ้าอ่านบทสัมภาษณ์ท่านแล้วยังคิดได้แค่นั้น อย่าเรียนต่อเลยครับ เสียเงิน เสียเวลา และเสียสถาบันที่คุณศึกษา หัดมองโลกให้กว้าง และหัดวิเคราะห์เจตนนที่เค้าสื่อให้ออก และที่สำคัญไปหัดพิมพ์ใหม่ด้วยนะครับ อายแทนจริงๆ พิมพ์ก็ผิด

    ถูกใจ

  5. ไม่เข้าใจว่า”ยมฑูตล่าวิญญาณ”ต้องการจะสื่ออะไร จากที่อ่านมาเหมือนจะเป็นคนเก็บกดหรือเปล่าค่ะ นี่แหละคงเป็นเหตุผลที่คุณไม่เลือกเรียนที่อินเดีย เลยกว่าเป็นคนอีโก้ต่ำ มองโลกแคบ มองโลกแค่ในมุมมองของตัวเอง การมาเรียนที่อินเดียไม่เพียงแต่ให้ความรู้ แต่ยังให้ประสบการณ์การดำเนินชีวิต การเข้าใจโลก จบมาจะหางานทำที่ดีได้หรือไม่ขึ้นอยู่กะตัวเองทั้งนั้น ถ้าความคิดอย่างคุณ”ยมฑูตล่าวิญญาณ”ก็คงหางานทำดีๆได้ไม่ง่ายหรอกค่ะ ถึงหาได้ฝ่ายบุคคลคงคิดผิดอย่างใหญ่หลวง ถึงทำงานไปก็คงไม่มีความสุขกับงานที่ทำหรอกเพราะจ้องแต่จะเหยียบคนอื่น เราเองก็จบปริญญาโทlinguisticsที่ปูเณ่ Deccan college เรากลับไทยปุ๊บก็สมัครงานได้เลย ที่การบินไทย เป็นแอร์ เงินเดือนสตาร์ทก็สูงอยู่มาก(ซึ่งอาจจะมากกว่าที่คุณ”ยมฑูตล่าวิญญาณ”หาได้อีกมั้ง)ตอนนี้ก็ทำงานมา2ปีกว่าแล้ว เรารู้สึกขอบคุณการตัดสินใจของเราและครอบครัวมากที่เลือกให้เราเรียนที่อินเดีย ที่นี่มีพระคุณกับเรามาก ที่อินเดียสอนให้เราไม่เป็นคนที่มีความคิดอย่างคุณ “ยมฑูตล่าวิญญาณ”แค่นี้ก็ถ์อว่าเป็นพระคุณอย่างสูงมากแล้ว

    ถูกใจ

  6. “ไม่มีความจำเป็นต้องไปอินเดียหรอกเพราะคนที่จบมาแบบไม่มีธีสิส” ที่ว่าจบมาไม่มี Thesis นี่คือระดับไหนครับ?

    “ไม่มีสิทธิ์เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปิด” เคยเช็คดูอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐที่จบจากอินเดียบ้างไม่ครับ
    ถ้าไม่เคยลองดู
    คณะสังคมสงเคราะห์ ธรรมศาสตร์
    คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
    คณะโบรณคดี ศิลปากร
    คณะศิลปศาสตร์ มธ
    คณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์

    เอ แล้วเคยเช็คดู ที่คณะศิลปศาสตร์ มอุบล บ้างมั้ยครับว่าจบอย่างที่คุณว่ากี่คน

    ผมไม่เห็นด้วยหรอกกับการวัดว่าใครเก่งไม่เก่ง เพียงแค่ดูที่สถาบันเท่านั้น จบตรงไม่ตรง ได้เป็นอาจารย์หรือไม่ แต่ก่อนจะเขียน เช็คก่อนดีมั้ยครับ

    ถูกใจ

  7. “Everybody complains of his memory, but nobody of his judgement.”
    Francois duc de La Rochefoucauld (1613-1680), Maxims, p.48.

    “ถ้าหากพระองค์นี้เก่งจริงทำใมไม่ต่อโทเอกอังกฤษหละก็เพราะฝืมือไม่ถึง” ผมแนะนำให้คุณลองคุยกับท่านดูนะครับ ก่อนตัดสิน จะดีมั้ย? ชีวิตและความสนใจของคน จากเกิดถึงตาย เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลยหรือครับ?

    “คนไปเรียนอินเดียส่วนหนึ่งคือจบไม่ตรงสาย เช่น ตรี นิเทศ โทรัศาด อย่างนี้นับว่าฆ่าตัวตาย”
    จบไม่ตรงสายต่อโทไม่ได้หรือครับ? หรือว่าต่อแล้วไม่ได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปิด? เคยเข้าไปดูบ้างมั้ยครับว่าคณาจารย์จบอะไรมาบ้าง แม้แต่ที่ม.อุบลเอง?

    “ไม่มีความจำเป็นต้องไปอินเดียหรอกเพราะคนที่จบมาแบบไม่มีธีสิส” ที่ว่าจบมาไม่มี Thesis นี่คือระดับไหนครับ? เคยเช็คมั้ยครับว่าโทที่นี่ไม่มี thesis ทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัยเลยหรือครับ?

    “…ไม่มีสิทธิ์เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปิด”

    เคยเช็คดูอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐที่จบจากอินเดียบ้างไม่ครับ?
    ถ้าไม่เคยลองดู
    คณะสังคมสงเคราะห์ ธรรมศาสตร์
    คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
    คณะโบรณคดี ศิลปากร
    คณะศิลปศาสตร์ มธ
    คณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์

    เอ แล้วเคยเช็คดู ที่คณะศิลปศาสตร์ มอุบล บ้างมั้ยครับว่าจบอย่างที่คุณว่ากี่คน??

    ผมไม่เห็นด้วยหรอกกับการวัดว่าใครเก่งไม่เก่ง เพียงแค่ดูที่สถาบันเท่านั้น จบตรงไม่ตรง ได้เป็นอาจารย์หรือไม่ แต่ก่อนจะเขียน ควรตรวจเช็คก่อนดีมั้ยครับ?

    “To be is to do” Aristotle

    “To do is to be” Jean Paul Sartre

    “Do be do be do” Frank Sinetra 555

    ถูกใจ

  8. “Everybody complains of his memory, but nobody of his judgement.”
    Francois duc de La Rochefoucauld (1613-1680), Maxims, p.48.

    ชีวิตและความสนใจของคน จากเกิดถึงตาย เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลยหรือครับ?

    “คนไปเรียนอินเดียส่วนหนึ่งคือจบไม่ตรงสาย เช่น ตรี นิเทศ โทรัศาด อย่างนี้นับว่าฆ่าตัวตาย”
    จบไม่ตรงสายต่อโทไม่ได้หรือครับ? หรือว่าต่อแล้วไม่ได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปิด? เคยเข้าไปดูบ้างมั้ยครับว่าคณาจารย์จบอะไรมาบ้าง แม้แต่ที่ม.อุบลเอง?

    “ไม่มีความจำเป็นต้องไปอินเดียหรอกเพราะคนที่จบมาแบบไม่มีธีสิส” ที่ว่าจบมาไม่มี Thesis นี่คือระดับไหนครับ? เคยเช็คมั้ยครับว่าโทที่นี่ไม่มี thesis ทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัยเลยหรือครับ?

    “…ไม่มีสิทธิ์เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปิด”

    เคยเช็คดูอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐที่จบจากอินเดียบ้างไม่ครับ?
    ถ้าไม่เคยลองดู
    คณะสังคมสงเคราะห์ ธรรมศาสตร์
    คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
    คณะโบรณคดี ศิลปากร
    คณะศิลปศาสตร์ มธ
    คณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์

    เอ แล้วเคยเช็คดู ที่คณะศิลปศาสตร์ มอุบล บ้างมั้ยครับว่าจบอย่างที่คุณว่ากี่คน??
    แต่ก่อนจะเขียน ควรตรวจเช็คก่อนดีมั้ยครับ?

    ผมไม่เห็นด้วยหรอกกับการวัดว่าใครเก่งไม่เก่ง เพียงแค่ดูที่สถาบันเท่านั้น ถ้าคุณเคยสอนเด็กมหาลัยหลายๆแห่ง และเปรียบเทียบดู ในกรณีทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เด็กปริญญาตรีจากหลายแห่งมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐในกรุงเทพ ก็ไม่ได้แน่นอะไรมากมาย ยิ่งตอนสอบสารนิพนธ์ตอนปีสุดท้ายยิ่งตัดสินความรู้และหลักการวิเคราะห์ของเด็กนักศึกษาได้ชัดมากขึ้น

    จบตรงไม่ตรง ได้เป็นอาจารย์หรือไม่ เพราะมันมีปัจจัยและเงื่อนไขที่มากกว่านั้น ถ้าคุณเคยสอบอาจารย์มหาวิทยาลัยจริงๆ

    อินเดียก็มีมหาวิทยาลัยที่ดีและไม่ดี (แม้แต่มหาลัยเดียวกันแต่ต่างคณะ คุณภาพและความเข้มข้นทางวิชาการก็ยังไม่เหมือนกัน แค่ต่าง college กันก็ไม่เหมือนกันแล้ว) ถ้าอย่างนั้น มันต่างอะไรกับมหาวิทยาลัยไทย และแม้แต่ของสหรัฐอเมริกาเอง การพูดเหมารวมและปราศจากข้อมูลยืนยัน ในความคิดของผม มันเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตและรู้จักคิดและการตัดสินของผู้พูดอยู่ทีเดียวครับ

    เอ คุณยมทูตล่าวิญญาณ และตกลงการเรียนมหาวิทยาลัยนี้มันเป็นไปเพื่อ เอาความรู้จากการเรียนการสอน หรือการออกไปเป็นสินค้าในตลาดแรงงานที่ใช้สำหรับการชี้วัดคนในยุค Late Capitalism เท่านั้นหรือ การมีประสบการณ์และการเรียนรู้จากมันในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการใช้ชีวิตต่างที่ต่างถิ่น ที่ผ่านอุปสรรคมากมายอย่างอินเดีย ซึ่งคนอย่างคุณ tik…ได้ซึมซาบมาแล้ว นี่ไม่ได้ถูกพิจารณาในการศึกษาระดับ “มหาวิทยาลัย”เลยหรือ? ถ้าเช่นนั้นเราเรียกคนที่จบว่า “บัณฑิต” ทำไมครับ?

    “To be is to do” Aristotle

    “To do is to be” Jean Paul Sartre

    “Do be do be do” Frank Sinatra 555

    ถูกใจ

  9. คุณยมทูตล่าวิญญาญ
    ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่จบอินเดีย พอจบกลับมาปุ๊บก็ได้งานทำเลยเหมือนกันตอนนี้ก็เปน อ ราชภัฏแห่งหนึ่งใน กทม และการจะสอบเข้าเปนอาจารย์ราชภัฎคู่แข่งส่วนใหญ่ก็จบมาจาก จุฬา ธรรมศาสตร์ แต่ถ้าอินเดียไม่แน่เค้าก็คงไม่เอาเข้ามาสอนระดับ ป โท ป ตรี หรอกคะ การยกย่องสถาบันตัวเองไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่การดูถูกสถาบันคนอื่นเปนเรื่องที่คนมีการศึกษาและมีความคิดเค้าไม่ทำกันนะคะ ถ้าไม่รู้จักอินเดียดีพอหรือไม่เคยไปอย่าพูด เพราะอย่างน้อยคนจบที่นี่ก็ไม่ดูถูกใคร

    ถูกใจ

  10. ต้องขออภัยในความผิดพลาดในการส่งข้อความครับ ทำส่งตั้งหลายครั้งแต่ขาดตกไม่สมบูรณ์ ดังนั้นโปรดเพิกละความสนใจความเห็นที่6-7ครับ

    ที่จริงความคิดเห็นของคุณ ยมฑูตล่าวิญญาณ นั้นสะท้อนให้เห็นถึงอคติ (prejudice) ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย ที่ซึ่งนักเรียนไทยในอินเดียอาจต้องเจอ

    ถูกใจ

  11. แปลกนะครับ เถียงกันทำไม…อย่าไปเถียง คนเขาไม่รู้ก็บ่อยเขาไป ม.อุบล ก้อแค่นั้น ไปขี้มาแล้ว ไม่ได้ติดแอร์นี่น่า…ไม่ได้ดูถูกนะครับ เรียนที่ไหน คนดีอยู่ที่ไหน คนเลวอยู่ที่ไหน คนเก่งอยู่ที่ไหน ล้านๆๆคำถาม…มันไม่ได้ิอยู่ที่มหาลัยหรอกครับ มันอยู่ที่ตัวคุณ คนดูถูกคนอื่น เหยียบคนอื่น อ้างว่าตัวเองอย่างนั้น อย่างโน้น..จิตวิทยา(พวกเก็บกด ..อิจฉา)….เอ้ไอ้ที่กระทำต่อนักเรียนสาว ม.อุบลเปล่านะ..ของเขาดีจริงหน้าหนึ่งเลยนะหนะ
    หมายเหตุ แสดงให้เห็นดีเลว เก่ง ไม่เก่ง อย่ามาเล่นกะสถาบัน..
    อ้อแค่อยากจะพวกว่า ข้าก็จบ ดร.ที่อินเดีย เจอมาแล้ว ดร.อเมริกา ดร.ออส ดร…..งั้นๆๆหละ เอไม่ได้ดูถูกนะ คนเรามันเรียนทันกันได้ เพชร อยู่ตรงไหนก้อเป็นเพชร
    ขี้อยู่ตรงไหนก้อเป็นขี้….งั้นคนเก่งจบที่ไหนก้อเก่ง เอออย่าลืมเก่งและดีด้วย
    สับสนใช่ไหมหละ มาพี่จะสอนให้ ลูกชาวนาปริญญาอินเดีย
    ข้าพเจ้า จบจากอินเดีย..

    ถูกใจ

  12. ผมภูมิใจที่เป็นศิษย์เก่าอินเดีย หน้าที่การงานการันตี อดีตเป็นผู้ประสานงานสหประชาชาติ นักวิชาการสำนักพิมพ์ อาจารย์ราชภัฏ บรรจุระดับ 4 วิเทศสัมพันธ์ สำนักการต่างประเทศ วุฒิสภา (สอบ ๓๓ คน ประกาศขึ้น ๘ )คนปัจจุบันเป็นข้าราชการระดับ 7 ความคิดเห็นของคุณลำดับที่ 1 ครับ การศึกษาคือการพัฒนาความคิดของมนุษย์ให้สูงขึ้นนะครับ เราไม่ควรดูถูกคนอื่นแค่ใบปริญญา เราจบใหนไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าเราเก่งหรือไม่ ที่ทำงานผมมีคนจบต่างประเทศเยอะ แต่มีล่ามไม่กี่คน ส่วนมากเป็นพวกจบอินเดียทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าอินเดียเก่ง แต่อยู่ที่การพัฒนาตนเองเช่นกัน การสอบเป็นอาจารย์ ม.อุบล ผมก็เคยไปตอนจบใหม่ ปี ๔๒ คู่แข่งจบต่างประเทศเยอะแยะ ทุกคนกลัวอินเดีย แต่ผลสอบ คนจบ ม.อุบล คนใน)เป็นคนสอบได้ (เพื่อนที่สอบจาก นิวซีแลนด์บอก) การประกาศผลไม่โปร่งใส แต่เราไม่เสียใจอะไรมากเพราะการศึกษาคือการพัฒนาจิตใจ สำหรับพระอาจารย์ท่านแนะนำสิ่งดี ๆ เราควรขอบคุณท่านนะครับ

    ถูกใจ

  13. คนเขาบอกแนวทางและวิธีการดำิเนินชีวิตและการใช้ชีวิตในขณะเรียนที่อินเิดียว่าควรจะทำตัวอย่างไร แล้วจะประสบความสำเร็จสมควรปรารถนา และการไปเรียนที่นั้นก็ควรตั้งใจให้มาก เพราะเป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งตรงกับหลักสูตรไทยในปัจจุบันที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์ เพราะฉะนั้นผู้เรียนที่มหาวิทยาลัยในอินเดียต้องเรียนรู้เพิ่มเติมให้กับคนเองมากๆๆ และหลักสูตรที่นั้นผู้เรียนทุกคนจะต้องได้รับ Syllabus คือรายละเอียดของหลักสูตรที่ตนจะเรียน และสามารถนำไปค้นคว้าศึกษาในห้องสมุดในช่วงนอกเวลาเรียน เพราะที่นี่คนสอน คนออกข้อสอบ และคนตรวจข้อสอบเป็นคนละคนกัน(ที่ผู้เขียนเรียน)เพราะฉะนั้นไม่ต้องหวังว่าข้อสอบจะรูง่ายๆ หรือไปขอจากอาจารย์ผู้สอน(ร่วมกันโกง) แต่ด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้นการเรียนนั้นไม่ได้อยุ่ที่สถาบันอย่างเท่านั้น แต่การศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่ จบจากมหาวิทยาลัยดังทั้งในและนอก(อเมริกาและยุโรป) อยากถามจริงเถอะครับช่วยแก้ปัญหาการคอรัปชั่นได้หรือไหม แก้ปัญหาอาชญากรรมได้หรือไม่ แก้ปัญหาเรื่องความรุนแรงทางเพศได้หรือไม่ คุณรู้ไหมว่าอินเดียมีพื่นที่ใหญ่กว่าไทย ประชากรมากว่าไทยหลายเท่าแต่ทำไม่ถึงมีปัญหาในแต่ละปีน้อยกว่าอินเดีย เมื่อเทียบเป็น case ต่อ case แล้ว คนไทยที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีคนแบบคุณมากเหลือเกิน มากจนสังคมเสื่อมทราม และตกต่ำอย่างรุนแรง ควรมีใจเป็นกลางนะครับ คนดีไม่ใช่อยู่ที่สถาบันครับ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าสถาบันของคุณมีรายวิชาด้านศีลธรรมหรือไม่ ที่สอนให้รู้จักมองคนในแง่ดีนะ ลองไม่อ่านหนังสืออ.พุทธทาสบ้างนะ อย่างมองที่ส่วนเสียของคนอื่น มองส่วนดีของเขาแล้วทำให้เรามีความสุข และสังคมจะสุขร่วมเย็น ไม่เกิดความขัดแย้งหรือแตกแยกด้านความคิดนะครับ คุณอัจฉริยยมฑูตล่าวิญญาณ อย่าลืมล่าวิญญาณของตนเองล่ะครับ (สิ่งดีๆ เข้าตัวบ้าง)

    ถูกใจ

  14. ได้อ่านกระทู้ของคุณยมฑูตล่าวิญญาณ (แค่ชื่อก็ขนหัวลุกซะแล้ว)เกิดทนไม่ได้ขึ้นมาเพราะเห็นว่าเธออ่านบทสัมภาษณ์ท่านประธานไม่แตกค่ะ หรือที่เรียกกันว่า ไม่getนั่นเอง ก็เลยวิพากษ์จนกลายเป็นให้คนอื่นพลอยรับรู้ถึงความฉลาดน้อยของตัวเองไปเสียนั่น อ่านไปอ่านมาหลายรอบก็ยังงงๆ ว่าอยากจะบอกอะไรกันแน่ ระหว่างคนจบจากอินเดียกับศักยภาพของ ม.อุบล ขอบอกค่ะว่าผู้ที่จบจากอินเดียเป็นอาจารย์ผู้ยิ่งยงและทรงเกียรติที่มหาวิทยาลัยมหิดลกันหลายท่านค่ะ เข้าใจไหมกับคำว่า multidisciplinary น่ะ ท่านประธานพรชัยเดินถูกทางและบอกถูกวิธีแล้วค่ะขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

    ดร.ดลพร จากม.มหิดลและเป็นศิษย์เก่าอินเดียค่ะ

    ถูกใจ

  15. คุณพี่ด๊อกเตอร์ทั้งหลายขา ทำไมแร๊งงงงงงงง…..กันจัง

    ถูกใจ

  16. สัมมนาวิชาการ // พฤศจิกายน 6, 2009 เวลา 12:43 PM //

    วันนี้ที่สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลโดยสถาบันวิจัยแห่งชาติได้จัดสัมมนาเรื่อง
    “แนวทางการวิจัยตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ระหว่างไทย-อินเดีย” มีนักวิชาการ และอาจารย์ (ที่ส่วนใหญ่จบจากอินเดีย) เข้าร่วมสัมมนาด้วยความอบอุ่นและภาคภูมิใจ นักวิชาการบางท่านที่ไม่เคยสัมผัสอินเดียมาก่อนครั้นได้ทุนจาก วช.ไปทำวิจัยกลับมาก็แฮปปี้กับความเป็นอินเดียค่ะ แม้ว่าก่อนไปก็มองอินเดียแบบลบแต่เมื่อได้สัมผัสจริงๆ ก็รู้ว่าอินเดียแฝงไว้ซึ่งเสน่ห์ งานนี้ท่านอดีตเอกอัครราชฑูต (ท่านจีระศักดิ์)ไปปาฐกถาพิเศษค่ะ…

    ข่าวจากอาจารย์ ม.มหิดล (ศิษย์เก่าปูเณ่)

    ถูกใจ

  17. ปล่อยไปเถอะครับ…คุยแล้วไม่เกิดอุดมปัญญา…จบอินเดียก็มีคุณภาพ เพราะถ้าไม่มีคุณภาพ นักปราชญไม่ไปเกิดที่อินเดียหรอก แม้กระทั่วทุกวันนี้..วัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่ก็มีจากอินเดีย..แต่ทำไมคนนั้น..ใจต่ำหล่ะ..ปกติตะวันออกจิตใจดีนะครับ..นักศึกษา JNU

    ถูกใจ

  18. ศิษย์เก่าไอซีซีอาร์ // พฤศจิกายน 7, 2009 เวลา 10:16 AM //

    สุดยอดเลยครับท่าน นี่ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีงามสำหรับศิษย์เก่าอินเดียทุกคน การวิพากษ์วิจารณ์ยิ่งแรง ยิ่งนำไปสู่คำตอบที่ประเสริฐกว่า แท้แล้วเราต้องไม่ปฏิเสธว่า มีนักเรียนไทยหลายคนที่เรียนอยู่อินเดีย เป็นพวกไม่ตั้งใจเรียนจริง ๆ มีพฤติกรรมเสียหาย ได้แต่เที่ยวเตร่ อิจฉาริษยา ว่าร้ายนักเรียนไทยด้วยกันเอง จนไม่ใส่ใจในการเรียนที่เป็นหน้าที่หลัก จนเรียนไม่จบ หรืออาจจะเรียนจบด้วยการวิ่งเต้น ลัดคิว ให้สินบนอาจารย์ จบมาแล้วก็โง่เขลาเบาปัญญา จนพาให้เพื่อน ๆ ศิษย์เก่าอินเดียคนอื่น ๆ เสียหาย และได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากสังคม เรื่องนี้ก็เหมือน ๆ กับศิษย์เก่าที่จบมาจากประเทศอื่น ๆ การกล้ายอมรับความจริงและหาแนวทางแก้ไขน่าจะเป็นเรื่องที่ดี ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีงาม ที่คุณล่าวิญญาณพูดนั่น ผมเคยได้ยินมาเยอะมาก แต่เป็นคำพูดของคนที่ยังไม่เคยรู้อินเดียจริง ๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่า มีปัญหาอย่างนั้นจริง

    ถูกใจ

  19. ขอร่วมแจมความคิดเห็นนะขอรับเกี่ยวกับคนจบอินเดียซึ่งมีทั้งคนเก่งและคนทึ่ม บางคนจบโท เอก เหมือนชาวบ้านแต่ภูมิปัญญาและภาษาอังกฤษต่ำสิ้นดี อันนี้คงใช้วิทยายุทธที่เคยทำมาตั้งแต่เมืองไทยสิท่า ใครเป็นประเภทไหนคงรู้ตัวนะขอรับ เจ้านาย……ฉะนั้นหากไม่อยากให้คนเขาดูถูกนักเรียนอินเดีย เหมือนท่านยมฑูตล่าวิญญาณวิจารณ์แล้วละก้อช่วยกันรับผิดชอบตัวเองด้วยเพื่อส่วนรวมไง

    ถูกใจ

  20. สนใจไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะค่ะ ไม่ทราบว่าจะเรียนที่ไหนดี คงต้องไปเรียนภาษา
    อังกฤษก่อนด้วยใช่ไหมคะ …. รบกวนคุณภูเวียงช่วยตอบที…

    ถูกใจ

  21. อินเดียมีมหาวิทยาลัยทีเปิดสอนด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีมาก เพราะของเขามีเยอะจริงๆ แต่ก็บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าที่ไหนเป็นอย่างไรบ้าง คงต้องเข้าไปศึกษารายละเอียดของแต่ละมหาวิทยาลัยดู แต่ที่เห็นเขาไปเรียนกันก็มีที่ The Maharaja Sayajirao University of Baroda รัฐคุชรัต และ National Museum Institute of History of Art Conservation and Museology ที่เดลี มีอาจารย์ที่ศิลปากรบางท่านก็จบจากมหาวิทยาลัยดังกล่าว ลองเข้าไปถามท่านดูนะคะ ส่วนที่ตนเองศึกษาอยู่นี่คือ เดคกันคอลเลจจะเน้นหนักทางด้านโบราณคดีมากกว่าค่ะ ส่วนการเรียนด้านภาษาลองศึกษารายละเอียดต่างๆ จากในเว็บเราก่อนนะคะ รวมถึงขั้นตอนการสมัครตามระบบใหม่ด้วยค่ะ

    ถูกใจ

  22. ผมสนใจเรียน ปริญญาเอกสาขาปรัชญา ที่เปณ่ แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัด รบกวนแนะนำรายละเอียดด้วยครับ หรือว่ามีมหายไหนที่น่าสนใจแนะนำด้วยครับ

    ถูกใจ

  23. ท่านประธานนักศึกษาไทยในปูเณ่ พระอาจารย์มหาพรชัย ท่านเรียนปริญญาเอก สาขาปรัชญา ที่มหาวิทยาลัยปูเณ่ อีเมล์ไปถามท่านโดยตรงเลยค่ะ punepresi@gmail.com ท่านจะให้คำตอบที่ถูกต้องมากกว่า

    ถูกใจ

  24. รบกวนพระอาจารย์ว่าพระอาจารย์พอจะทราบชื่อพระนักศึกษาที่เรียนที่มหาวิทยาลัยออรังกาบัดบ้างไหม พอดีหนูเป็นบริษัททัวร์ค่ะ มีคณะจะไปเมืองออรังกาบัด และไปถ้ำอจันต้า และ ถ้ำเอลโลร่า ทางบริษัทจะนิมนต์มาบรรยาย สถานที่ค่ะ หรือ พระอาจารย์ สามารถมาได้ไหมค่ะ ประมาณเดือนพฤศจิกายน วันที่ที่แน่นอน จะแจ้งอีกทีค่ะ อย่างไรรบกวนพระอาจารย์ด้วยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  25. เพิ่งจะไปมาเองครับ

    ไว้จะสอบถามให้ครับ ว่ามีใครบ้าง

    ถูกใจ

  26. ลองติดต่อพระอาจารย์วินัย สิริญาโณ ท่านอยู่ที่ออรังกาบัดค่ะ
    siriyan2009@hotmail.com
    มือถือ +919665775998

    ถูกใจ

  27. สาวน้อยตกนํ้า // กันยายน 27, 2010 เวลา 11:13 AM //

    ดูถูกกันเหลือเกินนะ ยมทูตล่าวิญญาณ ไม่มีปัญญาไปน่ะสิ นั่งงมหอยโข่งไปเถอะ

    ถูกใจ

  28. กินนอน นอนนาน // มกราคม 13, 2011 เวลา 11:16 AM //

    เออ…..เก่งดีว่ะ(มาเที่ยวอวดสรรพคุณ)เเล้วเหาะได้หรือเปล่าว่ะการดูถูก”อินเดีย”เท่ากับคุณ”เล่น”ทั้งประเทศ…อันตรายนะเฟ้ย…คุณอย่าเที่ยวเอาชื่อสถาบันมาเที่ยวอวดดีเลยครับ…สงสารครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆที่สอนที่นั่น…ต้องมา”อาย”เเทนคุณ

    เอ้า…ให่”เค้า”ไป วิเศษจร๊งๆพ่อคุณเอ๊ย

    ถูกใจ

  29. คนเราหนอ แปลกจัง พระอาจารย์คิดถึงจัง ผมอาจารย์กานต์ณรงค์ สอนสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยศิลปากร (kan-casanovar) ศิษย์เก่ารุ่นพระอาจารย์เลยตอนเรียนป.โท พระอาจารย์สบายดีนะ ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับผม ว่าเรียนที่ไหนดี ระหว่างเมืองไทยและอินเดีย ขอเป็นความคิดส่วนตัวนะครับ เรียนไทยก่อนนะ ผมว่าเมืองไทยมีข้อดีหลายอย่างครับ แต่ไทยเรายังมีสีนิดๆ ความรู้ก็โอเค แต่ค่าเรียนแพงครับ ไม่เหมาะกับคนที่มีรายได้น้อย มีความเป็นอีโก้เยอะหน่อย บางทีเยอะเกินไปครับ แต่สิ่งที่ได้ในเมืองไทยคือความรักและอบอุ่นจากท่านอาจารย์ผู้สอนเหมือนพ่อแม่เราครับ แนะนำเราทุกอย่าง เรียนอินเดียครับ มีข้อเสียอยู่เยอะ หลายเรือง การเป็นอยู่ การกิน จบมาก็โดนเพือนๆดูถูกดูแคลน (ลืมไปว่าไม่ได้ไปเตะปากมันสักหน่อย เกลียดกูเรื่องไรวะ งง มนุษย์) จบอินเดียก็คน ตัวหนังสือตัวเดียวกัน แต่หางานยาก เพราะว่าอินเดียไม่เก่ง คนที่เรียนไม่เข้ม ภาษาไม่แข็ง พูดไม่ได้เรือง ไปเรียนมาทำไม ผมไปเรียนอินเดียเพราะสอบเข้านิด้าไม่ติดครับ อยากเข้าแต่นิด้าอย่างเดียว พอไปเรียนอินเดีย คนเยอะแย่ะ ดีบ้างเลวบ้าง (ผมถนัดฝ่ายเลวมากกว่าดี) แต่ก็เข้าใจคนเราครับ เราทุกคนหันหน้าเรา เราตัดสินใจแล้ว ต้องสู้กับมัน อินเดียก็ทำให้ผมได้เป็นครู ถึงเงินเดือนไม่สูง ก็มีความรู้ไปสอนคนอื่น ไม่เก่งแต่ก็ฝึกฝน เข้าใจคน ทำดีให้คน กลับมาจากอินเดียมาก็อยากไปเรียนอีก แต่แก่แล้วไปไม่ไหว คิดถึงบ้านมากกว่า อินเดียค่าเรียนไม่แพง แต่เป็นด้านบทบาทของชีวิต กลับจากอินเดียเป็นอีกคน เราอยากมีชีวิตที่สวยหรูอยู่ประเทศไทย แต่เราอยากมีชีวิตที่ผจนภัยไปอินเดียกันครับ เลือกเอาอยากได้ชีวิตแบบไหน
    พี่กัน Casanovar at Pune ต้นกำเนิด Saturday Party….

    ถูกใจ

แสดงความคิดเห็น